china-send-6g-satellites-into-the-space-stronger-than-5g

Share : facebook line twitter fb-messenger

บทความ จีน ส่ง ดาวเทียม 6G ขึ้นสู่ อวกาศ ชาติแรกของโลก แรงกว่า 5G ร้อยเท่า

บทความ www.seolnwza.com



จีน ถือได้ว่าเป็น  ประเทศที่มีความพัฒนาทางด้าน เทคโนโลยี เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อย่างล่าสุด จีน ส่งดาวเทียม 6G ขึ้นสู่อวกาศ ได้สำเร็จ เป็น ชาติแรกของโลก โดยจะมีความ แรงกว่า 5G ถึง ร้อยเท่า

การพัฒนา เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่น่าจับตามอง เพราะในปัจจุบัน เทคโนโลยี ( Technology ) คือ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ กระบวนการ ตลอดจน ผลงานทาง วิทยาศาสตร์ ทั้ง สิ่งประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้ในระบบงาน หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ให้มีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การดำรงชีวิตของเราง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น

การนำ เทคโนโลยี มาใช้งานมีความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) การนำ เทคโนโลยี จะช่วยให้ การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เกิดผลผลิตเต็มที่ และมีประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด ( Economy ) ประหยัดทั้ง เงิน เวลา และ แรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้น

ความสำคัญของ เทคโนโลยี (Technology )
- เป็นปัจจัยพื้นฐานต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์ ดำรงชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบัน ก็มาจาก เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาตามยุคปัจจุบัน เราจึงต้องปรับพฤติกรรมให้เข้ากับ เทคโนโลยี มากขึ้น
- เป็นปัจจัยหลักที่มีส่วนช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่ง เกิดการพัฒนาทาง เศรษฐกิจโลก ในปัจจุบัน
- เป็นความสัมพันธ์ของของมนุษย์ กับธรรมชาติ เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่มนุษย์ นำความรู้จากธรรมชาติ มาคิดค้นดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต

ประเทศ จีน เป็นประเทศที่มีความพัฒนาสูง ในขณะที่ยุคสัญญาณ 5G เพิ่งจะเริ่มต้น Smartphone บางรุ่น เพิ่งจะมีการรองรับ ล่าสุด จีน ส่งดาวเทียม 6G ดวงแรกของโลกขึ้นทดสอบบน ชั้นอวกาศ แล้ว ตอกย้ำความเป็นผู้นำทาง เทคโนโลยี

ศูนย์ปล่อย ดาวเทียมไท่หยวน ในมณฑลชานซีทางตอนเหนือของประเทศจีน ได้ทำการปล่อย ดาวเทียม รับสัญญาณ ขึ้นสู่อวกาศ เป็นประเทศแรกของโลก นอกจากนี้ทางจีนยังได้ปล่อยดาวเทียมอีก 12 ดวง โดยระบบดาวเทียม ดังกล่าวได้ถูกพัฒนาโดย Chengdu Guoxing Aerospace Technology, UESTC, and Beijing MinoSpace Technology

ดาวเทียม UESTC หรืออีกชื่อคือ Star-Era 12 ถูกตั้งชื่อตาม University of Electronic Science and Technology of China หรือมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และ อิเล็กทรอนิกส์ ของจีน ซึ่งส่งไปทดสอบประสิทธิภาพของ เทคโนโลยี คลื่น 6G ในอวกาศ
 

นับว่าการ ปล่อยดาวเทียมรับสัญญาณ ขึ้นสู่อวกาศ เป็นความก้าวหน้าของจีน ในการสำรวจ เทคโนโลยี การสื่อสารแบบ เทราเฮิร์ตซ์ ( Terahertz ) ในอวกาศ

โดยทางเจ้าหน้าที่ของ จีน ได้ออกมาเปิดเผยว่าดาวเทียมจะถูกใช้สำหรับเมืองอัจฉริยะป้องกันภัยพิบัติ การวางแผนที่ดิน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการตรวจสอบการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ แต่ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง และตรวจสอบอีกหลายขั้นตอน คาดว่าจะพร้อมใช้งานภายในปี 2573 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า.

โดยโครงการนี้ เป็นหนึ่งความพยายามครั้งยิ่งใหญ่ของจีน ที่จะนำหน้าคู่แข่งข้ามไปสู่การเชื่อมต่อ 6G แม้ว่า 5G ยังไม่ได้เปิดตัวในวงกว้างก็ตาม แต่ถือว่า จีนเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G อย่างแท้จริง โดยนอกเหนือจากจีนแล้ว ในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศก็กำลังเร่งดำเนินการกับ 6G เช่นเดียวกัน

กว่าระบบ ดาวเทียม 6G ของจีน จะใช้งานได้จริง ๆ คงต้องใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าจะถึงตอนนั้น 5G ก็จะกลายเป็นสัญญาณพื้นฐาน ที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และเราคงจะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นที่มีความล้ำหน้ามากพอ สำหรับสัญญาณ 6G ที่เกิดใหม่ขึ้นมามากมาย

ในระบบสัญญาณ 6G ของจีน คาดการว่าจะมีความเร็วมากกว่าระบบ 5G ถึง 100 เท่า แถมยังใช้พลังงานน้อยกว่า โดยครั้งนี้จะเป็นการนำ คลื่นความถี่ ที่ชื่อว่า เทราเฮิร์ต ( Terahertz ) มาใช้เป็นครั้งแรก

ดาวเทียม ดังกล่าวจะสามารถส่งข้อมูลป้องกัน และ รายงานภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นจากนอกโลกได้ เช่น ไฟป่า,สึนามิ และน้ำหลากจากภูเขา เป็นต้น แต่ว่าในปัจจุบันยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลอง และต้องตรวจสอบอีกหลายขั้นตอน คาดการว่าอีกหลายปีกว่าคลื่นสัญญาณ 6G จะสามารถเริ่มใช้งานได้

เทคโนโลยี ปัจจุบันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ ให้มีความเป็นอยู่ที่สะดวก สบายมากขึ้น ทันสมัย ประหยัดเวลา และสามารถช่วยในการทำงานของมนุษย์เราได้อีกด้วย

บทความเพิ่มเติม

อัพเดต Google Algorithm ระหว่าง ปี 2010 - 2020
Influencer อาชีพ ที่เติบโตใน ยุคดิจิทัล ของอุตสาหกรรม โฆษณา

Created : 11/11/2020

บทความที่น่าสนใจ

ทำไม LSI Keyword ถึงสำคัญกับ การทำSEO

สิ่งที่ไม่ควรทำ สำหรับ SEO ที่ส่งผลให้ อันดับล่วง


phone line chat_facebook