รีบลบด่วน! แอปฯ CamScanner  ตรวจพบ Malware ดักข้อมูลเครื่อง

Share : facebook line twitter fb-messenger

บทความ รีบลบด่วน! แอปฯ CamScanner ตรวจพบ Malware ดักข้อมูลเครื่อง

บทความ www.seolnwza.com



ช่วงเวลาที่ผมเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องถ่ายรูปจากพรีเซ้นต์อาจารย์ใช่แอป CamScanner ใช่งานได้ดีสะดวกเร็วทันใจแต่มาวันนี้ผมเห็นข้อมูลหนึ่งที่บอกว่า CamScanner มีMalwareผมเห็นว่าหน้าสนใจเลยเผยแพร่มาให้อ่าน

camscanner-app-detects-intercepting-malware

     แอปพลิเคชันสำหรับถ่ายภาพเอกสารฟรีดี ๆ ที่หลายคนมีติดเครื่องอย่าง CamScanner “ในรุ่นฟรี” ถูกโจมตีโดยผู้ไม่หวังดี พร้อมฝัง Malware ลงไปในแอปฯ บน Playstore ส่งผลให้ผู้ใช้งานปัจจุบันที่ได้รับการอัปเดตแอปฯ มีความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมข้อมูลได้ ซึ่งปัจจุบัน Google Play Store ได้ทำการนำแอปฯ ตัวนี้ออกจากร้านค้าแล้ว

 

สำหรับใครที่กำลังใช้งานอยู่หรือมีติดเครื่องให้รีบทำการลบออกไปก่อนครับเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของเรา

     โดย Hacker ได้ทำการโจมตีแอปฯ CamScanner นี้ผ่านช่องทางการโฆษณาของ 3rd Party ซึ่งปัจจุบันมีอยู่บนแอปฯ ฟรีส่วนมากเพื่อหารายได้มาใช้ในการพัฒนาแอปฯ ต่อ ซึ่งการโจมตีนี้ถูกค้นพบโดย Kaspersky Security Researcher นักวิจัยของโปรแกรมป้องกันไวรัสชื่อดัง Kaspersky ผ่านจากการสำรวจความพึงพอใจในการใช้งานแอปฯ ว่า แอปฯ CamScanner กำลังได้รับคำแนะนำด้านลบว่า มีฟีเจอร์แปลก ๆ โผล่ออกมาหลังจากใช้งาน จึงได้ทำการตรวจสอบและพบกับ Malware ดังกล่าวนั่นเอง

 

แต่ข้อดีคือ สำหรับผู้ที่ใช้แอปฯ CamScanner บน Google Play Store ในรุ่นเสียเงิน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง Malware แต่อย่างใด และยังคงเปิดให้ซื้อบน Google Play Store อยู่เช่นเดิม

     

     ซึ่งเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นแอปฯ ที่เปิดให้ดาวน์โหลดบน Official Store อย่าง Google Play Store และมีผู้ใช้งานมากมายอยู่แล้วก็ไม่อาจรอดพ้นจากการเป็น Malware ได้เมื่อโดนโจมตีจาก Hacker

 

     แบไต๋แนะนำวิธีตรวจสอบเบื้องต้นคือ ให้เราลองดูว่า แอปฯ ตัวนั้นขออนุญาติสิทธิ์การเข้าถึงบางอย่างที่ผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นหรือไม่ ถ้าใช่ ให้ทำการลบแอปฯ ตัวนั้นทิ้งก่อนที่จะสายเกินไป และสำหรับใครที่มองหาแอปฯ สำหรับสแกนเอกสารแทน CamScanner แบไต๋แนะนำแอปฯ Microsoft Office Lens – PDF Scanner ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายและปลอดภัยครับ

พูดถึง malwareคืออะไรเป็นหลายคนกวนใจมาโดยตลอดวันนี้เรามาทำความรู้จักตัวร้ายนี้กัน

 

 Malware (มัลแวร์) 

หรือ Malicious Software คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบัน Malware ถูกแบ่งประเภทออกได้มากมายหลากหลายประเภทตามลักษณะพิเศษของแต่ละชนิดเช่น  Computer Virus, Worms, Trojan house, Spyware เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ก็สามารถแสดงผลต่อคอมพิวเตอร์และผู้ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การขโมยข้อมูล, การเข้ารหัสข้อมูลทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้, การลบข้อมูล, การขโมยหน้า Broswer (Broswer Hijack) ,การทำลายระบบและอีกมากมายที่แฮคเกอร์สามารถคิดวิธีที่จะหาผลประโยชน์จากองค์กรของท่านได้

 

ลักษณะ malware ต่างๆ

 

Virus: มักจะแฝงตัวมากับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือไฟล์และสามารถแพร่กระจายไปยังเครื่องอื่นๆ

­ Worm: สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่นๆ ผ่านทางระบบเครือข่าย เช่น อีเมล หรือระบบแชร์ไฟล์

­ Trojan: หลอกล่อผู้ใช้ว่าเป็นโปรแกรมที่ปลอดภัย แต่จริงๆแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายเมื่อผู้ใช้หลงเชื่อนำไปติดตั้ง โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวว่ามีโปรแกรมอื่นที่อันตรายแฝงตัวมาด้วย

­ Backdoor: เปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยไม่รู้ตัว

­ Rootkit: เปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้ามาติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อควบคุมเครื่อง พร้อมได้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ (Root)

­ Spyware: แอบดูพฤติกรรมและบันทึกการใช้งานของผู้ใช้ และอาจขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น บัญชีชื่อผู้ใช้งาน, รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น พร้อมทั้งส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่ได้ระบุเอาไว้อีกด้วย

­ Ransomware: ทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ ผู้ใช้จะไม่สามารถเปิดไฟล์หรือคอมพิวเตอร์ได้ จากนั้นก็จะส่งข้อความ “เรียกค่าไถ่” เพื่อแลกกับการถอดรหัสเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา

 

ข้อแนะนำในการป้องกันการติดมัลแวร์

อัพเดทคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ในเครื่องสม่ำเสมอ

ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ (Anti-malware) บนคอมพิวเตอร์

ระมัดระวังการใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่อทั้งหลาย เช่น แฟลชไดรฟ์ (USB) เป็นต้น ควรทำการสแกนไวรัสทุกครั้งก่อนใช้งาน

ไม่คลิกข้อความที่แสดงโฆษณาหรือหน้าต่าง pop-up ปลอม (Adware) บนเว็บไซต์ที่เยี่ยมชม เพราะจะเป็นการเริ่มดาวน์โหลดมัลแวร์ จะต้องเช็คแลตรวจสอบก่อนคลิกเสมอ

ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เสี่ยงต่อการมีมัลแวร์แฝงอยู่

หลีกเลี่ยงการเปิดอีเมล รวมไปถึงไฟล์แนบที่ต้องสงสัยใดๆที่ส่งมาจากอีเมลที่เราไม่รู้จัก และต้องตรวจสอบทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา

หากคุณโหลด อะไรมาฟรี เราก็ควรที่จะศึกษาก่อนนะครับเพราะว่า บ้างที่เราก็ต้องแลกกับอะไรบ้างอย่างมาเหมือนกัน

ด้วยความปราถนาดีจาก seolnwza

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  chula

Created : 29/08/2019

บทความที่น่าสนใจ

SEO ทำน้อยได้มากกับเทคนิคสุดลับ

ทำ SEO อย่างไร ให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรก Google


phone line chat_facebook

A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: