Share : wiki wiki wiki wiki

Wiki Marketing - Campaign



Campaign คืออะไร ?  

     การทำ Campaign เป็นสิ่งจำเป็นที่แทบจะทุกธุรกิจต้องลงมือทำ ซึ่งถือเป็นชุดข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์ โดยสามารถทำงานผ่านแพลตฟอร์มโฆษณาบนเครือข่ายการค้นหา จาก Google Bing และโซเชียลมีเดีย รวมทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ และยังเป็นวิธีสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งเอาไว้ได้ ไม่ว่าจะเพื่อสร้าง Awareness หรือสร้าง Engagement ในการสร้างยอดขายหรือสร้างเป้าหมายทางธุรกิจอื่น ๆ 

     Campaign คือ งานโฆษณาที่เป็นชุดเอาไว้สำหรับทำการตลาดผลิตภัณฑ์/ บริการแคมเปญต่าง ๆ โดยจะต้องสามารถทำงานผ่านแพลตฟอร์มโฆษณาบนเครือข่ายการค้นหาอย่าง Email Google หรือ Bing และสื่อโซเชียลมีเดีย ฯลฯ ซึ่งการบริหารจัดการ Campaign ที่ดีจะทำให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนกลับมาอย่างคุ้มค่า จากการจัดการได้อย่างเหมาะสมให้กับกลุ่มลูกค้า

 

4 องค์ประกอบสำคัญ ก่อนลงมือทำ Campaign

1. Campaign Goal เป้าหมายแคมเปญที่ชัดเจน

  • Awareness : รับรู้การมีตัวตนของแบรนด์ ผู้มีโอกาสจะเป็นลูกค้าเริ่มรับรู้การมีตัวตนของแบรนด์จากช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook Google Instagram เป็นต้น
  • Engagement : เริ่มคุ้นเคย และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ เป็นขั้นตอนหลังจากที่พวกเขารับรู้การมีอยู่ของแบรนด์แล้ว เริ่มคุ้นเคย และมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น
  • Subscribe : ยอมให้ข้อมูลส่วนตัวกับแบรนด์ ในขั้นตอนนี้พวกเขาจะให้ข้อมูลการติดต่อของแก่คุณ ซึ่งการกระทำนี้ถือเป็นการอนุญาตให้คุณติดต่อพวกเขาอีกครั้งได้ในอนาคต
  • Convert : ตัดสินใจซื้อ เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นแรก อาจจะเพื่อทดลองสินค้า และบริการก่อน เป้าหมายหลักจริง ๆ ของขั้นตอนนี้จึงเป็นการได้รับลูกค้าใหม่ ๆ มากกว่ามุ่งเน้นไปที่เรื่องของกำไร
  • Excite : ประทับใจหลังการซื้อสินค้า เป็นขั้นตอนที่ลูกค้ารู้สึกประทับใจ หรือรู้สึกพิเศษหลังจากซื้อสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าซ้ำ ซื้อสินค้าจำนวนมากขึ้น หรือมีราคาแพงขึ้น
  • Ascend : ซื้อซ้ำ หรือซื้อเพิ่ม เป็นตอนที่ลูกค้าพร้อมจะซื้อสินค้าจำนวนมากขึ้น ราคาสูงขึ้น หรือซื้อบ่อยขึ้น
  • Advocate : บอกต่อ เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าสนับสนุนและบอกต่อธุรกิจไปยังคนอื่น ๆ เรียกอีกอย่างว่า “passive promoter” หรือผู้โปรโมทแบรนด์โดยธรรมชาติ
  • Promote : โปรโมท “Promoters” ต่างจาก “advocates” ตรงที่ Promoters จะเลือกเผยแพร่คำต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์ สินค้า และบริการโดยตรง ซึ่งพวกเขามักจะโปรโมทเพราะแรงจูงใจบางอย่างที่บริษัทจัดทำขึ้น

2. Content needed รูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะสม

  • TOFU ( Top of Funnel ) : Aware and Engage เป็นขั้นตอนแรก ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้คนรับรู้  และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
  • MOFU ( Middle of Funnel ) : Subscribe เป็นขั้นตอนระหว่างกลาง ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการติดต่อของลูกค้า เพื่อนำไปทำการตลาดให้เกิดการซื้อในขั้นตอนถัดไปได้
  • BOFU ( Bottom of Funnel ) : Convert เป็นขั้นตอนลำดับท้าย ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า หรือทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อ

3. Traffic Source แหล่งผู้คนที่ต้องการเข้าถึง

  • Organic Source แหล่งผู้รับชมแคมเปญจากช่องทางต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เหมาะกับแบรนด์ที่มีผู้ติดตามเยอะในช่องทางนั้น ๆ
  • Paid Source แหล่งที่มาจากการซื้อโฆษณา เป็นรูปแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการเข้าถึงผู้คนเป็นจำนวนมาก ๆ แหล่งที่มาจากการซื้อโฆษณาช่วยตอบโจทย์การเข้าถึงที่คุณต้องการได้ดีที่สุด

4. Call to action สัญลักษณ์สร้างแรงกระตุ้น

     Call to action คือ ถ้อยคำ สัญลักษณ์ หรืออะไรก็ตาม ที่คุณใช้กระตุ้นให้ผู้รับชมทำ ตัวอย่างเช่น ถ้าการตลาดของคุณอยู่ในขั้นตอน Subscribe ให้ได้ข้อมูลลูกค้า Call to action อาจจะทำขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ดาวน์โหลดเอกสาร เช็คลิสต์ หรือวิดีโอ ถ้าการตลาดของคุณอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ( Convert ) หรือขั้นตอนการซื้อซ้ำซื้อเพิ่ม ( Ascend ) Call to action ของคุณอาจจะอยู่ในรูปของสัญลักษณ์กระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า และบริการ แต่ถ้าแคมเปญของคุณมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ ( Awareness ) Call to action อาจจะเป็นการกระตุ้นให้คนฟังพอดแคสต์ หรืออ่านบล็อค เป็นต้น

 

ปัจจัยการทำ Campaign ประสบความสำเร็จ

1. นำเสนอให้ถูกเวลา

     การนำเสนอ Campaign ที่เป็นประโยชน์ ควรทำให้ตรงเป้าหมาย และถูกเวลา เพราะหากช่วงเวลาที่นำเสนอไม่ใช่ช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายต้องการมากที่สุด อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอยากเข้าหาชุดโฆษณา หรือสินค้าของคุณยากขึ้น

2. มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน

     การทำ Campaign การตลาดให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว คือ การระบุกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่าแต่ละ Campaign การตลาดนี้กลุ่มเป้าหมายคือใคร? และจะทำอย่างไรให้ที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

3. สอดคล้องภาพลักษณ์แบรนด์

     เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้น การทำ Campaign การตลาดจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพลักษณ์และทิศทางของบริษัทหรือองค์กรอยู่เสมอ

4. การจัดวางภาพแบบเดียวกัน

     ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางรูปแบบ,ตัวอักษร, สีสัน รวมทั้งภาพประกอบการทำ Campaign จะต้องมีลักษณะที่ดูแล้วรู้ว่าเป็นงานชุดเดียวกัน หรือมาจากแหล่งเดียวกัน

5. การใช้คำพูดหรือสำนวนเดียวกัน

     คำพูดที่ใช้ในการทำ Campaign แต่ละชิ้น จะต้องมีบุคลิกส่งเสริมตัวงานชุดนั้น ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสโลแกนหรือสำนวนต่าง ๆ ก็ตาม

6. การใช้เสียงเดียวกัน

     การใช้เพลงประกอบหรือเสียงของผู้ประกาศ และแม้แต่เสียงที่ใช้เทคนิคพิเศษจากการทำ Campaign จะต้องสามารถสื่อให้ผู้บริโภค มีการทราบได้ว่าโฆษณาที่ได้ยินนั้น ๆ เป็นชุดเดียวกัน และมาจากสินค้าหรือบริการเดียวกัน

7. การใช้ทัศนคติเดียวกัน

     งาน Campaign ในแต่ละชุดจะต้องสามารถบ่งบอกหรือตอบสนองจุดประสงค์หลัก รวมทั้งคอนเซ็ปต์หลักของสินค้าในแนวทางเดียวกันให้ได้

 

ข้อดีของการทำ Campaign

1. ติดตั้ง และเปิดใช้งานได้ง่าย และรวดเร็วเพียงไม่กี่คลิก

2. ไม่ได้จำเป็นต้องควบคุมดูแล และบำรุงรักษา Campaign เมื่อเทียบกับแบบ Standard

3. Conversion Rate มักจะสูงเสมอ

4. โฆษณานี้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้กว้างขวางกว่า เพราะสามารถแสดงผลได้บนหลากหลายเครือข่ายเลย

 

ข้อเสียของการทำ Campaign

1. เรามีสิทธิ์ในการควบคุมแคมเปญได้น้อยมาก เช่น กำหนดกลุ่มเป้าหมายเองไม่ได้, เลือกพื้นที่แสดงผลเองไม่ได้ เป็นต้น

2. ไม่สามารถกีดกันกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ต้องการออกได้

3. ไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาในการออนไลน์โฆษณาได้

4. ไม่สามารถปรับแต่ง กลยุทธ์การเสนอราคาค่าคลิกได้

 

สรุปการใช้ Campaign

     Campaign ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องสามารถใช้ข้อมูลด้านการขาย และการตลาดมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งจะต้องรู้และเข้าใจองค์ประกอบสำคัญ และวิธีการนำไปใช้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาของลูกค้า หรือการวิเคราะห์ด้านแคมเปญที่เคยจัดขึ้น โดยการจัดการแคมเปญเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด จะต้องทำให้ตรงความต้องการลูกค้ามากที่สุด

Created BY : SEOlnwza

phone line chat_facebook