Share : wiki wiki wiki wiki

Wiki Marketing - Algorithm



Algorithm คืออะไร ?

     Google จะมีโปรแกรมอย่าง Algorithm ทำหน้าที่เพื่อไปดึงเนื้อหาที่มีความใกล้เคียงกับคำที่มีคนเสิร์ชหา เป็นเหมือนแมงมุมไต่เข้าไปตามเว็บต่าง ๆ ที่หากกดค้นหาข้อมูลบน Google จะทำให้ Algorithm ดึงข้อมูลที่ใกล้เคียงที่สุดกับคำที่คุณพิมพ์ มาจัดอันดับให้เลือกบนหน้า SERPS โดยเป็นหน้าแสดงผลจากการค้นหาทั้งหมดที่มีแต่ละเว็บมาเรียงให้เลือกนั่นเอง 

     Algorithm เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยจัดอันดับ โดยเป็นการแสดงผลเว็บต่าง ๆ เพื่อให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุด และผลลัพธ์ที่เร็วที่สุดอีกด้วย เพราะมีผู้คนมากมายที่หันมาใช้เสิร์ชเอ็นจิ้น ( Search Engines ) สำหรับใช้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะการค้นหาใน Google สำหรับหาข้อมูลเพื่อทางแก้ปัญหา หรือสามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน 

     เมื่อคุณกดค้นหาเรื่องที่ต้องการ จะทำให้ Algorithm ทำการค้นหาข้อมูลที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณต้องการ มาทำการจัดอันดับเรียงหน้าให้เลือก ซึ่งจะทำให้คุณสามารถค้นอะไรก็เจอได้ง่าย ๆ โดยหลักการทำงานของ Algorithm คือ รูปแบบกระบวนการแก้ไขปัญหา และสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนที่มีความชัดเจน 

 

หลักการเขียน อัลกอริทึม ( Algorithm )

- มีความชัดเจน : การกำหนด Algorithm ที่ดี ควรมีขั้นตอนที่ชัดเจน โดยจะต้องไม่คลุมเครือ หากมีเงื่อนไขการทำงานแบบไหนก็ควรกำหนดให้ชัดเจน โดยจะต้องทำขั้นตอนที่หนึ่งให้เสร็จแล้วค่อยไปยังขั้นตอนที่สอง

- เน้นความสำคัญเฉพาะจุด : หากเริ่มต้นหลายจุดจะทำให้กระบวนการวิธีสับสน ซึ่งกระบวนการสำคัญควรเริ่มต้นที่จุดจุดเดียว เพราะหากไม่เน้นเฉพาะจุด อาจทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งจะทำให้ Algorithm ไม่สามารถทำงานได้

- มีความกระชับ : การกำหนดขั้นตอนในการทำงานของ Algorithm จะต้องมีความสั้น-กระชับ เพราะนอกจากจะทำให้โปรแกรมทำงานได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นที่มาพัฒนาโปรแกรมต่อ ซึ่งจะสามารถศึกษา Algorithm จากโปรแกรมที่เขียนไว้ได้ง่ายๆ

- มีความต่อเนื่อง : เพื่อให้เข้ากับข้อมูลในขั้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง การออกแบบขั้นตอน Algorithm ที่ดี จะต้องมีผลลัพธ์จากขั้นตอนแรก โดยควรเป็นข้อมูลสำหรับนำเข้าไปจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

- ครอบคลุมการทำงาน : การออกแบบ Algorithm ที่ดี ควรให้ครอบคลุมการทำงานหลายรูปแบบ เพราะเมื่อผู้ใช้โปรแกรม Algorithm ป้อนข้อมูลผิดประเภท จะมีการเตือนว่าผู้ใช้งานมีการใส่ข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งจะทำให้โปรแกรมจะไม่รับข้อมูลนั้น ๆ แล้วใส่ข้อมูลใหม่อีกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดจุดบกพร่องของโปรแกรม

 

รูปแบบการเขียน อัลกอริทึม ( Algorithm )

       การเขียน อัลกอริทึม ( Algorithm ) มีหลายรูปแบบ โดยผู้เขียนสามารถใช้อัลกอริทึมหลายรูปแบบประกอบกันในการออกแบบ อัลกอริทึม ( Algorithm ) นั้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมได้

1. แบบลำดับ ( Sequential ) มีลักษณะการทำงานจะเป็นไปตามขั้นตอน ก่อน-หลัง ต่อเนื่องกันไปเป็นลำดับ โดยการทำงานแต่ละขั้นตอนต้องทำให้เสร็จก่อน แล้วจึงไปทำขั้นตอนต่อไป

2. แบบทางเลือก ( Decision ) อัลกอริทึมรูปแบบนี้ มีเงื่อนไขเป็นตัวกำหนดเส้นทางการทำงานของกระบวนการแก้ปัญหา โดยตัวเลือกนั้นอาจจะมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป เช่น สอบข้อเขียน คะแนนเต็ม 50 ได้คะแนน 30 สอบผ่าน ถ้าต่ำกว่า 30 สอบไม่ผ่าน

3. แบบทำซ้ำ ( Repetition ) อัลกอริทึมแบบนี้คล้ายกับแบบทางเลือก คือ มีการตรวจสอบเงื่อนไข แต่แตกต่างกันตรงที่เมื่อการทำงานตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด โปรแกรมจะกลับไปทำงานอีกครั้งวนการทำงานแบบนี้เรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้จึงหยุดการทำงานหรือทำงานในขั้นต่อไป

 

คุณลักษณะการเขียน อัลกอริทึม ( Algorithm )

     ในการแก้ปัญหาแต่ละปัญหามหลายวิธี ดังนั้น การเขียน อัลกอริทึม ( Algorithm ) เพื่อแก้ปัญหาแต่ละปัญหาก็มีหลายวิธีด้วย แต่ละวิธีมีทั้งข้อเด่นข้อด้อย ดังนั้น ต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน และสภาพแวดล้อมในขณะนั้น โดยทั่วไป อัลกอริทึม ( Algorithm ) ที่ดี ต้องคุณลักษณะดังต่อไปนี้

- มีความถูกต้อง ความถูกต้องเป็นคุณสมบัติข้อแรกที่จะต้องพิจารณา นั่นคือเมื่อทำงานตาม อัลกอริทึม ( Algorithm ) แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าผลลัพธ์ที่ได้จาก อัลกอริทึม ( Algorithm ) ไม่ถูกต้อง จะถือว่าไม่ใช่ อัลกอริทึม ( Algorithm ) ที่ดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาคุณสมบัติข้ออื่น ๆ

- ใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด

- สั้น กระชับ มีเฉพาะขั้นตอนที่จำเป็นเท่านั้น

- ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำน้อยที่สุด เนื้อที่ในหน่วยความจำจะถูกใช้สำหรับเก็บค่าของตัวแปร และเก็บคำสั่งที่ใช้ในการทำงาน ดังนั้น ถ้า อัลกอริทึม ( Algorithm ) ยาวเกินความจำเป็น จะทำให้ใช้เนื้อที่มาก และถ้ามีตัวแปรมากเกินความจำเป็น ก็จะทำให้เสียเนื้อที่ในหน่วยความจำไปด้วย

- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

- ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยที่สุด เมื่อนำอัลกอริทึมไปแปลงเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์แล้วจะต้องใช้เวลาน้อยที่สุด

- ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

 

ประโยชน์ของ อัลกอริทึม ( Algorithm )

       ประโยชน์ของอัลกอริทึม ( Algorithm ) คือ ทำให้ไม่สับสนกับวิธีดำเนินงาน เพราะทุกอย่างจะถูกจัดเรียงเป็นขั้นตอนมีวิธีการและทางเลือกไว้ให้ เมื่อนำมาใช้จะทำให้การทำงานสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาลดลงหรือสามารถค้นหาต้นเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากกระบวนการถูกแยกแยะกิจกรรม ขั้นตอน และความสัมพันธ์ ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน

 

สรุปการใช้ อัลกอริทึม ( Algorithm )

     การที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากส่งผลให้ข้อมูลมีจำนวนมากขึ้น มีการใช้ Algorithm เข้ามาแก้ปัญหาจากการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ เพื่อให้ได้ผลออกมาถูกต้อง โดยมีมาตรฐานเดียวกัน แม้จะมีบทความสลับซับซ้อนและมีข้อมูลในปริมาณมาก Algorithm ก็สามารถจัดการแก้ปัญหาแบบมีหลักการได้ไม่ยาก ทำให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้นและตรงตามที่ต้องการ

Created BY : SEOlnwza

phone line chat_facebook