9 เทรนด์การตลาดดิจิทัลปี 2020

Share : facebook line twitter fb-messenger

บทความ 9 เทรนด์การตลาดดิจิทัลปี 2020

บทความ www.seolnwza.com



ใกล้จะเข้าสู่ปี 2020 กันแล้ว ถึงเวลารวบรวมเอาแนวโน้มการตลาดในยุคดิจิทัล ที่นักการตลาดควรรู้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและวางแผนการตลาดในปีหน้าว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป

 

     เรื่องเทรนด์การตลาด ในแต่ละปีจะมีการทำการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา จึงต้องมีการปรับตัวให้ทันและแน่นอนว่าการตลาดในปี 2020 ที่กำลังจะมาถึงนี้ คุณจะต้องวางแผน เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับมัน ซึ่งวันนี้เราจะนำ 9 เทรนด์การตลาดดิจิทัล ที่คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทในปีหน้ามาฝากกัน

 

1. Experience First

     เป็นแนวคิด ‘ประสบการณ์ของผู้บริโภคมาก่อน’ เป็นการพัฒนาแนวคิดในการวางแผนการตลาดเพื่อเอาชนะใจผู้บริโภค และเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันหลายแบรนด์เริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับสื่อ Offline และ Online เท่าๆ กัน จนกระทั่งเกิดแนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการวางแผนการตลาด นั่นคือ ‘Experience First’ หรือ การวางแผนประสบการณ์ลูกค้าในทุกๆ Touch Point ของสินค้าและบริการ

 

     ซึ่งแนวคิดนี้ต่อยอดมาจากแนวคิดการวางแผน Ux หรือ User Experience ที่ปกติใช้กับการออกแบบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือบริการออนไลน์ต่างๆ ที่กลับเข้ามาสู่การส่งมอบประสบการณ์ในทุกๆ ช่องทางที่แบรนด์และผู้บริโภคจะติดต่อซึ่งกันและกัน แต่การทำ Experience First จะต่างกันตรงที่การมุ่งเน้นไปยังพฤติกรรมและทัศนคติ รวมไปถึงความรู้สึกก่อน ระหว่าง และหลัง การซื้อหรือใช้บริการ มากกว่าจะมองไปที่ช่องทางที่เรามี

 

     โดยแนวคิด Experience First จะเริ่มแผ่ขยายไปมากขึ้นในปีหน้า จะกลับมาเป็นเทรนด์หลัก โดยมีหลายๆ แบรนด์เริ่มวางแผนครอบคลุมประสบการณ์เหล่านี้มากขึ้น

2. Group & Sub-culture Marketing

     Group & Sub-culture Marketing หรือ การทำการตลาดกับกลุ่มตลาดวัฒนธรรมย่อย จะจริงจังขึ้นในปีหน้า เรามักจะได้ยินคำว่า Sub-culture หรือ วัฒนธรรมย่อย ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนหรือชุมชนที่มีความชอบ กฎระเบียบ วิถีปฏิบัติ และคุณค่าบางอย่าง ที่แชร์ร่วมกันอยู่

 

     สิ่งที่เป็นตัวทำให้ปีหน้า Group & Sub-culture จะมีบทบาทมากขึ้น คือ การประกาศอย่างชัดเจนของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ว่าในปีหน้าจะสนับสนุนฟังก์ชัน Facebook Group มากขึ้น โดยจากสถิติของ Facebook ที่พบว่า ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กันในกรุ๊ปมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงตั้งใจที่จะผลักดัน Facebook Groups ให้ปรากฏบนหน้าฟีดก่อนโพสต์ของเพจและเพื่อน

 

    ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่า Facebook Groups มีผู้ใช้อยู่ในกรุ๊ปต่างๆ มากขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงความสนใจ การซื้อขาย การแลกเปลี่ยนความเห็นมากขึ้น ทำให้เจ้าของสินค้าและบริการต่างๆ ต่างจับจ้อง และเตรียมทำการตลาดเฉพาะกลุ่มเหล่านี้เพิ่มขึ้น โดยมีการเข้าไปปฏิสัมพันธ์เพื่อเก็บข้อมูล การสร้างกลุ่มความสนใจ และให้ข้อมูลแก่สมาชิกกลุ่ม รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าผ่านในกลุ่มเฉพาะจะเป็นเทรนด์ที่นักการตลาดจะสนใจมากขึ้น

 

3. One to One Communication-Age of Personalization

     One to One Communication-Age of Personalization หรือ การสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผ่านคอนเทนต์เฉพาะบุคคล จะเข้ามามีบทบาทมากสำหรับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งองค์ประกอบที่ทำให้เทรนด์นี้เกิดขึ้น คือ มีช่องทางการสื่อสารแบบ “เฉพาะบุคคล” ที่มากขึ้น และคนใช้งานกันหลากหลายขึ้น อย่าง LINE และ Facebook Messenger ที่ปฏิวัติรูปแบบของแพลตฟอร์มให้เน้น Data และการสื่อสารแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น

     ในสมัยก่อนเราเรียกการสื่อสารแบบนี้ว่า Direct Marketing หรือ การสื่อสารทางตรง ที่สามารถคุยกับผู้บริโภคในระดับบุคคล สื่อสารแบบตัวต่อตัว แต่ในตอนนี้เรามีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยสื่อสารแทน ซึ่งการสื่อสารแบบ ‘เฉพาะบุคคล’ จะแตกต่างจากการสื่อสารแบบ ‘เฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมย่อย’ ตรงที่การสื่อสารเฉพาะบุคคล จะเป็นแนวโน้มการตลาดของสินค้าและบริการที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ ข้อมูล คอนเทนต์จำนวนมาก และระบบ Automation ดังนั้น หากสินค้าและบริการใดที่มีสามข้อนี้ การทำการสื่อสารแบบ One to One จะกลายมาเป็นหัวใจสำคัญในการทำการสื่อสารกับลูกค้าในอนาคตอย่างแน่นอน

 

4. Collaboration to unlock potential

     Collaboration to unlock potential หรือ การร่วมมือกันระหว่างแบรนด์เพื่อปลดล็อกศักยภาพ เห็นได้จากการจับมือกันระหว่างแบรนด์หลายแบรนด์มากขึ้น เนื่องจากโลกมีการพัฒนาไวขึ้น การร่วมมือกันจึงส่งผลดีกว่า ซึ่งการทำ Collaboration มีจุดประสงค์และวิธีการทำ 4 รูปแบบด้วยกันคือ ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนกลุ่มลูกค้ากัน, ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูลซึ่งกันและกัน, ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้าและสร้าง Impact ในเชิง PR และสุดท้าย ร่วมมือเพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่าง เช่น การจับมือกันของแบรนด์กับ Greenpeace เพื่อชูเรื่องของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

5. Cause Driven Brand Building

     Cause Driven Brand Building การสร้างแบรนด์ในปีหน้า ต้องหาจุดยืนและจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้โลกของเราดีขึ้น เพราะตอนนี้กระแสเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงมาก ปลุกการเรียกร้องจากผู้บริโภคมากขึ้น ควรให้แบรนด์หันมาสนใจโลกมากขึ้น

 

     และไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ประเด็นทางสังคมก็ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็น Cyber Bullying, ความเหลื่อมล้ำ หรือ LGBT กลายเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคคาดหวังให้แบรนด์แสดงจุดยืนที่จะทำอะไรบางอย่าง ทำให้การสร้างแบรนด์ในปีหน้าอาจหยิบนำเอาเรื่องเหล่านี้มาประกอบกับการสร้างแบรนด์เพื่อให้ชนะใจผู้บริโภคมากขึ้น และสร้างด้วยการลงมือทำมากขึ้น

 

6. The Game Era

     The Game Era ยุคแห่งเกมที่ไปไกลกว่า E-Sports เกมกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสหลักไปแล้ว ในปีหน้าตลาดเกมไม่ได้มีแค่ E-Sports และเกมได้กลายเป็น New Entertainment สำหรับคนรุ่นใหม่อย่างเต็มตัว

 

     มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก We Are Social 2019 พบว่า เด็กไทยอายุ 16-24 ปี และคนรุ่น Gen Y อายุ 25-34 ปี ดู E-Sports ใกล้เคียงกับการดูกีฬาทั่วไปเป็นที่เรียบร้อย และคนไทยไม่ได้ดูแค่ E-Sports แต่ดูการ Cast Game สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยไทยอยู่ที่อันดับ 5 ของโลก แสดงให้เห็นว่าเกมกลายเป็นหนึ่งในกระแสหลักของคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ที่กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ใช้เวลาและให้ความสนใจมาก

 

     นี่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่อาจทำให้แบรนด์ที่จับกับ Entertainment Content อยู่แล้ว เข้ามาให้ความสนใจกับตลาดนี้มากขึ้น อาจได้เห็นการจับมือกับ Influencers สาย Cast Game และการทำการตลาดกับกลุ่มเกมเมอร์มากขึ้นในปีหน้า

 

7. Creative Data

     ความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างความต่างให้ Data Marketing ซึ่ง Data มองง่ายๆ ไม่ต้องคิดให้ยุ่งยาก คือ การเก็บข้อมูลลูกค้าปัจจุบันที่จำเป็นและนำไปใช้ให้ได้ก็เพียงพอแล้ว ถ้าแบ่ง Data Marketing ย่อยเป็นขั้นตอนต่างๆ จะประกอบไปด้วย การเก็บข้อมูล การทำความสะอาดข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ หากนำความคิดสร้างสรรค์ไปสอดแทรกในการทำ Data Marketing ให้แตกต่างและได้ผล ขออนุญาตยกตัวอย่างบริษัท เอเจนซี ที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างทีม Data Marketing และครีเอทีฟ อย่าง Alchemist ที่ร่วมกับ Rabbit’s Tale ที่ใช้แนวคิดนี้ทำงาน

 

     เทคโนโลยีเกี่ยวกับ Data ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำให้ใครๆ ก็มี Data อยู่ในมือ ดังนั้น ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหาให้ได้ว่าจะเอา Data นั้นไปทำอะไรดี เพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น

 

8. Shoppertainment ขายของคู่กับความบันเทิง

     เทรนด์นี้เริ่มมาจากการที่ Live Commerce หรือ การขายของผ่าน Live ที่กลายเป็นเทรนด์ หลายแบรนด์จึงหันมาใช้ช่องทาง Live มากขึ้น โดยอาศัยการใช้ตัวผู้ขายเพื่อสร้าง Entertainment Value และปิดการขายได้มากกว่าเดิม ทำให้เมื่อ Shopping มารวมกับ Entertainment จึงกลายเป็นการขายรูปแบบใหม่ที่น่าจะเข้ามาเป็นเทรนด์ในการทำการตลาดแนวนี้มากขึ้น

 

9. Creative work as Experimental & Testing (When More is More)

     การทำงานครีเอทีฟยุคหน้าจะเป็นยุคลองผิดลองถูก ยิ่งทำเยอะยิ่งได้เยอะ ซึ่งเทรนด์นี้มาจากปัจจัยผลักดันหลักๆ คือ การที่เรามี Off the Shelf Marketing Tool หรือ ซอฟต์แวร์เครื่องมือที่ช่วยให้เราผลิตงานการตลาดได้มากขึ้น เร็วกว่า และราคาถูกลง ทำให้ต่อไปการทำงานสร้างสรรค์ จะเป็นการทดลองมากขึ้น เมื่อผิดก็สามารถลองทำใหม่ได้ แตกต่างจากการขึ้นบิลบอร์ด หรือซื้อโฆษณาทีวีที่ลองไม่ได้ และจำเป็นต้องทำเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มมากๆ

 

     ดังนั้น งานครีเอทีฟที่เป็นงานทำโฆษณาสมัยใหม่ในปีหน้า จะเน้นความหลากหลาย ความเร็วในการทำงาน และการทำให้โดนใจคนมากขึ้น โดยอาจทำโฆษณากว่า 10 รูปแบบในการโปรโมทสินค้าแค่ตัวเดียว

 

     และนี่คือ 9 Digital Marketing Trends ประจำปี 2020 ที่นักการตลาดควรต้องรู้และติดตามไว้ เพื่อเป็นแนวทาง แต่จะเป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thestandard

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

- การใช้ Data ต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

- แนวทางสร้างยอดขายด้วย DATA หาลูกค้าที่ใช่ ด้วยข้อเสนอที่โดนใจ

Created : 20/11/2019

บทความที่น่าสนใจ

จุดเริ่มต้นของการเริ่มทำ SEO

Video seo ดีอย่างไร


phone line chat_facebook